การปลูกถ่ายไต

ใครบ้างที่สามารถรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตบ้าง

ไตที่จะปลูกถ่ายได้มาจากไหนบ้าง

ไตจากผู้บริจาคสมองตาย ซึ่งในทางกฎหมายและทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้ว แต่ไตยังทำงานได้ดี โดยต้องได้รับความยินยอมจากญาติสนิท โดยผ่านการบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยเป็นผู้จัดสรรให้กับผู้รอไตอย่างยุติธรรม เที่ยงตรง และโปร่งใส

จากผู้บริจาคมีชีวิต ตามเกณฑ์และกหมาย ตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560 ผู้บริจาคไตต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือเป็นสามีภรรยาที่แต่งงาน หรืออยู่ด้วยกันมากกว่า 3 ปี ยกเว้นมีบุตรด้วยกันก็ไม่จำเป็นต้องรอจนครบ 3 ปี

บริจาคไตแล้วเหลือไต 1 ข้าง จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

แพทย์จะทำการตรวจสุขภาพผู้บริจาคไตเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริจาคไตมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ โดยเมื่อบริจาคไตแล้วไตอีกข้างที่มีอยู่สามารถทำงานทดแทนไตที่บริจาคได้ อนึ่งผู้บริจาคอวัยวะจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ และไม่ควรมีอายุมากกว่า 60 ปี

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการปลูกถ่ายไต มีอะไรบ้าง

อัตราความสําเร็จ

ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตในประเทศได้ผลดีมาก และสามารถเปรียบเทียบได้กับผลการปลูกถ่ายไตของต่างประเทศ โดยมีอัตราการอยู่รอดของไตที่ 1 ปี และ 5 ปี ประมาณ 90% และ 80% ตามลําดับ

ความเสี่ยง

ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีความเสี่ยงหลายอย่างที่อาจจะพบได้ เช่น ภาวะติดเชื้อเนื่องจากต้องรับประทานยาเพื่อ ลดอัตราการต้านไต (rejection) ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดซึ่งอาจจะมีภาวะเลือดออก ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดง และดําของไตใหม่และอาจจะมีปัสสาวะรั่วจากท่อไตที่ต่อใหม่กับกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเฝ้าระวังความเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หากเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยยา การเติมเลือด และการผ่าตัด เป็นต้น

แพทย์ประจำคลินิก

นพ.ธีรยุทธ เจียมจริยาภรณ์

พญ.ธิดารัตน์ กิจรุ่งไพบูลย์

พญ.ขนิษฐา เธียรกานนท์

พญ.ธันยธร วุฒิพุธนันท์

จองคิวนัดหมายแพทย์
สามารถจองคิวนัดหมายแพทย์ก่อนล่วงหน้า 3 วัน และรอเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ติดต่อกลับเพื่อยืนยันการนัดหมายอีกครั้ง
ข้อมูลผู้ป่วย
ข้อมูลแพทย์
เลือกเวลาที่สะดวก