บทความ

โรคไต กับการ วิ่งมาราธอน

บทความ โรคไตกับการวิ่งมาราธอน
โดย นพ.พิชา ยินเจริญ
อายุรแพทย์โรคไต
โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

โรคไต กับการ วิ่งมาราธอน

              การวิ่งมาราธอน ถือเป็นกิจกรรมหรือกีฬากลางแจ้ง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน การวิ่งมาราธอนเป็นการวิ่งระยะทางไกล และใช้เวลานาน ทำให้ผู้วิ่งมีโอกาสสูญเสียเหงื่อในปริมาณมาก อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำได้ ดังนั้น ในการวิ่งแต่ละครั้งผู้วิ่งต้องหมั่นดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ที่บอกว่าในปริมาณที่เหมาะสมนั้นเพราะการวิ่งแต่ครั้ง เราจะสูญเสียเหงื่อไปประมาณ 500 – 1000 มิลลิลิตร ต่อชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศขณะนั้นด้วย เพราะ

  • การดื่มน้ำในปริมาณน้อยเกินไป ร่วมกับการสูญเสียเหงื่อมาก จนเกิดภาวะการขาดน้ำ และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ตามมา
  • การดื่มน้ำมากจนเกินไป (เช่น ดื่มน้ำมากกว่า 1500 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง) ก็จะทำให้เกิดภาวะเกลือแร่ ชนิดโซเดียมต่ำได้ ซึ่งเป็นอันตราย

              สำหรับคนที่อยากจะเข้าร่วมการแข่งขันการวิ่งมาราธอน ควรมีการฝึกฝนที่ดีเตรียมร่างกายให้พร้อม , รับประทานอาหาร , เลือกชุดออกกำลังกายที่เหมาะสม ตรวจสถาพสนามที่ลงแข่ง

สำหรับการป้องกันการขาดน้ำ ทำได้โดย

  1.  เช็คร่างกายว่าไม่มีการขาดน้ำก่อนการแข่งขันภายใน 48 ชั่วโมง
  2.  แนะนำดื่มน้ำ 150 – 200 มิลลิลิตร ทุกๆ 15 – 20 นาที ระหว่างแข่ง อย่างไรก็ตามเป็นการยากที่จะทำ                                                                   หรือ อาจเกิดภาวะได้น้ำมากเกินไป แนะนำให้สังเกตตัวเองในช่วงการซ้อมว่าเราต้องการน้ำมากขนาดไหน                                                           เช็คน้ำหนักหลังวิ่ง ไม่ควรลดมากกว่า 2% ของน้ำหนักก่อนวิ่ง , สีของปัสสาวะไม่เข้มจนเกินไป
  3.  ดื่มน้ำ 400 – 500 มิลลิลิตร ก่อนแข่ง 2 ชั่วโมง เพื่อลดภาวะการขาดน้ำ
  4.  ถ้าประเมินว่าเวลาในการวิ่งมากกว่า 5 ชั่วโมง ให้ระลึกว่าเหงื่อจะออกลดลงในภายหลัง ดังนั้นไม่ควรดื่มน้ำมากจนเกินไป
  5.  การปฏิบัติตัวดังกล่าวสามารถป้องกัน และลดปัญหาที่อาจจะเกิดข้างต้นได้

เรียบเรียงโดย
นพ. พิชา ยินเจริญ
อายุรแพทย์โรคไต
โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

โรคไต กับ ตัวต่อต่อย

โรคไต กับ อาหารเค็ม

ไตกับปริมาณน้ำ